ทองแดง (Copper) คือแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ทองแดงเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวของร่างกาย มีหน้าที่กระตุ้นให้ร่างกายนำธาตุเหล็กไปสร้างฮีโมโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์เม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ยังเป็นสารที่จำเป็นต่อการทำงานของสมองและระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
ทองแดงเป็นส่วนประกอบที่มีอยู่ในร่างกายประมาณ 70-150 มิลลิกรัมเท่านั้น โดยพบได้ตามอวัยวะสำคัญอย่างหัวใจ ไต สมองและสะสมที่ตับ แต่อาจพบตามและไขกระดูกได้บ้างเล็กน้อย
หน้าที่สำคัญต่อร่างกายคือป้องกันการเกิดโรคหัวใจ เพราะทำหน้าที่ขนถ่ายธาตุเหล็กเข้าสู่กระแสเลือด จึงป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเลือดจาง และเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของฮีโมโกลบิน ช่วยให้การสร้างฮีโมโกลบินมีความสมบูรณ์ ถือเป็นแร่ธาตุที่ช่วยสนับสนุนการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ใกล้เคียงกับธาตุเหล็ก และเป็นตัวช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้นด้วย
แร่ธาตุทองแดง ส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
- สุขภาพหัวใจและหลอดเลือดที่แข็งแรง หากร่างกายมีทองแดงต่ำ ร่างกายจะมีการสะสมของคอเลสเตอรอลและส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
- การทำงานของเซลล์ประสาทมีประสิทธิภาพ เมื่อปริมาณทองแดงในเซลล์มากเกินไปจะลดการส่งสัญญาณของเซลล์ประสาท แต่เมื่อระดับทองแดงในเซลล์ลดลง การส่งสัญญาณก็จะดำเนินต่อไปได้ปกติ
- การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพ เมื่อระดับทองแดงในร่างกายต่ำอาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Neutropenia) ตามไปด้วย โดยเม็ดเลือดขาวมีหน้าที่สำคัญคือการป้องกันการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา พิษจากสารต่าง ๆ ดังนั้นหากระดับเม็ดเลือดขาวต่ำจะส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ และติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
- การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ผ็ป่วยโรคกระดูกพรุนมักมีภาวะการขาดทองแดงที่รุนแรง เพราะระดับทองแดงในเลือดจะส่งผลต่อความหนาแน่นของกระดูก ดังนั้นการขาดทองแดงจึงส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูกได้
- ผิวพรรณที่เด่งดึง ทองแดงจะช่วยรักษาคอลลาเจนและอีลาสตินซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกาย และมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระแ จึงช่วยปกป้องผิวหนังจากริ้วรอยต่าง ๆ และหากไม่ได้รับทองแดงอย่างเพียงพอ ร่างกายจะไม่สามารถสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทดแทนส่วนที่เสียหาย หรือผลิตคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบของกระดูก ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ของร่างกายได้
แหล่งทองแดงจากอาหาร
ปกติร่างกายเราควรได้รับทองแดงวันละ 16-23 มิลลิกรัม/วัน ไม่ควรเกินกว่านั้น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถขับส่วนเกินออก ท้ายสุดจะเกิดการสะสมที่ตับและสมอง การบริโภคทองแดงอย่างถูกวิธี จะส่งผลดีต่อร่างกาย โดยแนะนำว่าในกรณีที่ร่างกายปกติ ควรเลือกรับประทานอาหารตามธรรมชาติที่มีปริมาณทองแดงสูง แทนการรับประทานทองแดงในรูปแบบของสารสังเคราะห์ที่มีอยู่ในอาหารเสริมต่าง ๆ โดยมีข้อสังเกต ดังนี้
อาหารที่มีทองแดงสูง
- ตับ เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย โดยเฉพาะธาตุทองแดง โดยในตับลูกวัวขนาด 67 กรัมจะให้ทองแดง 10.3 มิลลิกรัม
- หอยนางรม เป็นอาหารทะเลที่มีแคลอรี่ต่ำ แต่มีสารอาหารจำเป็นมากมาย โดยจะมีแร่ธาตุทองแดงประมาณ 7.6 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
- สาหร่ายเกลียวทอง เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยสาหร่าย 1 ช้อนโต๊ะจะให้พลังงานเพียง 20 แคลอรี่ แต่ให้โปรตีนมากถึง 4 กรัม และมีแร่ธาตุทองแดงอีก 44% ของสารอาหารที่ควรบริโภคต่อวัน
- เห็ดหอม เห็ดหอมอบแห้ง 15 กรัม จะให้พลังงาน 44 แคลอรี่ ใยอาหาร 2 กรัม และสารอาหารมากมาย รวมถึงทองแดงด้วย
- ถั่วและเมล็ดพืช เป็นอาหารที่มีเส้นใย โปรตีนและไขมันที่ดีต่อร่างกาย รวมถึงสารอาหารอื่น ๆ อย่างทองแดงด้วย โดยพบว่าถั่วอัลมอนด์หรือเม็ดมะม่วงหิมพานต์ปริมาณ 28 กรัม จะให้ทองแดง 33% และ 67% ของปริมาณสารอาหารที่ควรบริโภคต่อวัน
- กุ้งมังกรหรือกุ้งล็อบสเตอร์ เป็นอาหารที่มีไขมันต่ำ โปรตีนสูงและอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด ถือเป็นแหล่งทองแดงที่ดีเยี่ยม
- ผักใบเขียว ตัวอย่างเช่นผักโขม คะน้า เป็นอาหารที่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ทั้งใยอาหาร วิตามิน และทองแดง
- ดาร์กช็อกโกแลต เป็นประเภทของช็อกโกแลตที่มีปริมาณโกโก้สูง แต่มีปริมาณของนมและน้ำตาลต่ำ นอกจากจากมีสารต้านอนุมูลอิสระ ใยอาหารแล้ว ยังอุดมด้วยสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายหลายชนิด รวมถึงแร่ธาตุทองแดงด้วย
อารหารเสริม,ทองแดงสังเคราะห์
เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้อาหารเสริมทองแดง เนื่องจากการรับประทานทองแดงในปริมาณมาก ๆ อาจมีผลข้างเคียง หรือทำให้เกิดอาการแพ้ทองแดงได้
ในกรณีของผู้ที่มีภาวะขาดทองแดง การรับประทานอาหารเสริมทองแดงเพื่อรักษาอาการ ควรรับประทานอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์ และควรรีบรับประทานทันทีที่เกิดอาการเพื่อให้ร่างกายได้รับทองแดงอย่างเพียงพอ แต่ในกรณีของสตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่กำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ในเรื่องของปริมาณทองแดงอย่างใกล้ชิด เพราะการบริโภคทองแดงที่มากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ หรือบุตรที่ดื่มนมจากมารดาได้
บทสรุป: หากได้รับทองแดง มาก-น้อย จนเกินไป ?
ผลข้างเคียงจากภาวะทองแดงในเลือดสูงเกินไป ส่วนมากเกิดจากการรับประทานทองแดงเกินขนาด ดังนั้นหากพบอาการดังต่อไปนี้ควรหยุดรับประทาน และรีบปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุด
- อาเจียนเป็นเลือด หรืออาเจียนเป็นสีดำ
- ปัสสาวะเป็นเลือด รู้สึกเจ็บ หรือแสบร้อนในขณะที่กำลังปัสสาวะ
- ร่างกายเกิดภาวะโคม่า
- ท้องเสีย
- หน้ามืด วิงเวียน เป็นลม
- ปวดหัวเรื้อรัง หรือปวดหัวรุนแรง
- แสบร้อนบริเวณกลางหน้าอก
- เบื่ออาหาร
- ปวดหลังบริเวณส่วนล่าง
- ลิ้นได้รับรสโลหะตลอดเวลา
- คลื่นไส้รุนแรง หรือเรื้อรัง
- ตาเหลือง ตัวเหลือง
ผลข้างเคียงจากภาวะทองแดงในเลือดน้อยเกินไป แม้ทองแดงจะเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายไม่ต้องการมาก แต่หากเกิดภาวะทองแดงต่ำ อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยร่างกายเติบโตช้าลง เกิดการสลายตัวในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดขั้นรุนแรง จนเกิดอาการโลหิตจาง และยังมีเอนไซม์บางชนิดที่มีทองแดงเป็นส่วนประกอบ ดังนั้นการขาดทองแดงจึงส่งผลต่อการทำงานของเอนไซม์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ อาจเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้องอื่นๆ