ทาก สัตว์ดูดเลือดจอมกระดึ๊บที่ดาษดื่นอยู่ทั่วผืนป่า

ทาก
สารบัญบทความ
ทาก

เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “ทาก” คนส่วนใหญ่จะนึกถึงกลุ่มสัตว์อยู่ 2 ประเภท คือ สัตว์ที่มีลักษณะคล้ายปลิง มักดูดเลือดเป็นอาหารเรียกว่า “ทากบก” กับทากอีกชนิดที่คนเรียกว่า “หอยทาก” อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงทากที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศของป่าย่อมหนีไม่พ้นชนิดแรก และที่สำคัญมันไม่ได้น่ากลัวแบบที่หลายคนเข้าใจ ลองมาศึกษาข้อมูลอันเป็นประโยชน์ซึ่จะช่วยให้เกิดมุมมองใหม่ของสัตว์ชนิดนี้ได้ไม่ยากเลย

ข้อมูลทั่วไปของ “ทาก”

ทาก ปลิง

ตามที่อธิบายเอาไว้ในช่วงต้นว่าคนส่วนใหญ่จะแยกทากออกเป็น 2 กลุ่ม นั่นคือ “ทากดูดเลือด” (Leech) ที่เราจะกล่าวถึง เป็นสัตว์ที่ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกับปลิงดูดเลือด มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Haemadipsa Sylvestris ซึ่งชื่อพื้นถิ่นก็จะมักเรียกกันตรง ๆ ตัวไปเลย หรือบางคนอาจเรียกเป็น “ทากบก” ก็ได้ความหมายแบบเดียวกัน สัตว์ชนิดนี้จะไม่มีกระดูกสันหลัง อยู่ในไฟลัม Annelida

ขณะที่ทากอีกชนิดคือ “หอยทาก” (Slug) อาจเรียกว่า “ทากทะเล” (Sea Slug) ก็ได้หากพบเจออยู่ในท้องทะเล จะเป็นสัตว์คนละกลุ่มกับทากดูดเลือดชัดเจน เพราะอยู่ในไฟลัม Mollusca ซึ่งถูกจัดอยู่ในหมวดของหอยและหมึก

ด้วยเหตุนี้ทากที่เรามักนึกถึงในระบบนิเวศของป่าจึงเป็น “ทากดูดเลือด” ที่มนุษย์หลายคนรู้สึกกลัว แต่แท้จริงแล้วพวกมันเองก็มีประโยชน์ต่อธรรมชาติอยู่ไม่น้อยเช่นกัน

ลักษณะทั่วไปของ “ทาก”

ทาก

ทาก จัดเป็นกลุ่มสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง วิวัฒนาการทางสายเลือดของพวกมันจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของตนเอง (กรณีนี้จะรวมถึงหอยทากด้วย) อย่างไรก็ตามขอย้ำอีกครั้งว่าสัตว์ทั้ง 2 ตระกูล ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้น และถูกจัดอยู่คนละตระกูล คนละไฟลัมชัดเจน แม้มองภายนอกลักษณะรูปร่างจะคล้ายคลึงกันก็ตามที และถ้าหากสรุปลักษณะของทากดูดเลือดจะมีปล้องคล้ายวงแหวนเรียงต่อกันแบบไม่สมมาตรเท่าใดนัก จึงมีความเรียวยาว ถูกหุ้มด้วยเมือกป้องกันตัวแห้ง สามารถยืดหยุ่นได้ รวมทั้งสิ้น 34 ปล้อง ทุกสายพันธุ์

บริเวณส่วนหัวและส่วนปลายจะมีปากสำหรับดูด (Sucker) ซึ่งส่วนด้านบน (ส่วนหัว) สามารถกัดสิ่งต่าง ๆ ได้ รูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม แข็งแรง มีขากรรไกร จึงเป็นอวัยวะสำหรับกัดและดูดเลือดสิ่งมีชีวิตอื่น บริเวณคอหอยของมันยืดออกได้ แต่สำหรับสายพันธุ์ที่ไม่มีขากรรไกร เขี้ยวจะตั้งฉากเป็นมุมค้ายใบมีด 3 ชิ้น อยู่บริเวณด้านหน้าของปาก

ในระหว่างที่กำลังกัดนั้นทากจะทำการปล่อยสารบางชนิดจนทำให้สัตว์อื่นที่โดนมีอาการแสบร้อนรวมถึงมนุษย์ด้วย ภายในร่างกายของพวกมันจะประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อที่มีความแข็ง มี Coelom หรือช่องลำตัวกว้างใหญ่

ด้านระบบประสาทของทากจะประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทขนาดใหญ่ ด้วยเหตุนี้เองมนุษย์จึงมักใช้พวกมันสำหรับการทดลองและค้นหาวิวัฒนาการเกี่ยวกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ศูนย์กลางของเส้นประสาทหลักจะประกอบไปด้วยปมประสาทที่อยู่ในสมองบริเวณเหนือลำไส้ใหญ่ ขณะที่ปมประสาทอีกด้านอยู่ตรงใต้หน้าท้อง เส้นประสาทเหล่านี้มีการเชื่อมต่อกันจนสร้างรูปร่างภายนอกให้มีลักษณะคล้ายวงแหวนแบบไม่เท่ากันจนถึงคอหอยของพวกมันนั่นเอง

การเคลื่อนไหวและอาหารของทาก

ทากดูดเลือดไม่มีตา แต่จะใช้วิธีจับการสั่นสะเทือนของสิ่งอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวของสัตว์ แรงสั่นของเศษใบไม้ปลิวร่วงหล่น หรืออื่นใดก็ตาม เมื่อรู้แล้วว่ามีสิ่งใดเข้ามาใกล้และอาจเป็นอาหารของพวกมันได้ก็จะรีบไปเกาะยังสัตว์ชนิดนั้น ๆ แล้วปล่อยสารบางชนิดออกมา

พวกมันสามารถคลานหรือว่ายในน้ำเพื่อไปหาเหยื่อของตนเองภายในเวลาไม่นานตามหลักทั่วไปของสปีชีส์กลุ่มสัตว์เลือดอุ่นที่มักเข้าหาสิ่งที่มีระดับอุณหภูมิสูงกว่า ซึ่งทากหลายสายพันธุ์มักไม่ค่อยชอบอยู่อาศัยในพื้นที่มีแสงแดดมากนัก แม้จะรู้ว่าเหยื่ออยู่ไม่ไกลแต่ถ้าหากมีแสงพวกมันก็ยอมไม่เลือกเหยื่อตัวดังกล่าว

อาหารหลักของสัตว์ประเภทนี้คือเลือดไม่ว่าจะเป็นเลือดสัตว์หรือมนุษย์ก็ตาม เมื่อเกาะผิวหนังได้แล้วพวกมันจะใช้ทั้งวิธีดูด การปล่อยเมือก และปล่อยสารบางชนิดจนติดเข้าไปภายในร่างกายได้สำเร็จ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วหลังจากกินเลือดจนอิ่มก็จะปล่อยออกมาไม่ได้ทำร้ายระบบส่วนอื่น ๆ ของร่างกายเหยื่อแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ก็มีบางสายพันธุ์ที่จะเกาะติดอยู่กับเหยื่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงช่วงของการผสมพันธุ์ ยิ่งถ้าบนร่างกายของเหยื่อเหล่านั้นมีทากดูดเลือดเกาะอยู่มากเท่าไหร่ ก็ย่อมสร้างอันตรายต่อร่างกายมากขึ้นเท่านั้น ท้ายที่สุดเหยื่อของพวกทากตายลง ทำให้ทากเองก็ต้องหาเหยื่อรายใหม่เพื่อดูดเลือดต่อไป

ปลิงดูดเลือด
ปลิงดูดเลือด

ทากมีความอันตรายกับมนุษย์มากน้อยเพียงใด

ปัจจุบันมีการค้นพบ ทากดูดเลือดบนบกทั่วโลกประมาณ 16 สายพันธุ์ แต่ถ้าหากรวมกับปลิงซึ่งจะอาศัยอยู่ในน้ำรวมแล้วก็มีมากกว่า 60 สายพันธุ์ แม้นักวิทยาศาสตร์มองว่าน่าจะมีมากกว่านั้น แต่ด้วยหน้าตาที่คล้ายกันมากการจำแนกสายพันธุ์จึงเป็นเรื่องยากในระดับหนึ่ง

ซึ่งตามที่บอกไปว่าทากนั้นสามารถดูดเลือดได้ทั้งสัตว์และมนุษย์ ใครที่ชอบเดินป่าบ่อย ๆ ก็มักพบเจอกับพวกมันที่จะเกาะติดตามขา หรือเข้าไปในรองเท้าเมื่อเท้าถูกสวมเข้าไปพวกมันก็ทำการกัดและดูดเลือดนั่นเอง

ตามลักษณะของปากที่จะมีทั้งแบบ 2 แฉก และ 3 แฉก ทำให้แผลที่เกิดขึ้นแตกต่างกันตามสายพันธุ์ หากเจอกับทากมีฟัน 2 แฉก รอยแผลจะคล้ายตัว V แต่ถ้าเป็น 3 แฉก รอยแผลมักคล้ายตัว Y เมื่อโดนกัดแล้วมักรู้สึกเจ็บได้ทันที บางตัวกัดอยู่นานทำให้เลือดไหลออกมาเยอะมาก ซึ่งใครที่โดนกัดนานแผลจะหายช้า บางคนแพ้พิษอาจมีอาการระคายเคือง มีตุ่มพองหรือผื่นพิษ

การนำทากออกจากผิวหนังห้ามดึงตัวพวกมันออกเป็นอันขาดเพราะจะยิ่งทำให้เนื้อฉีกขาดและเป็นแผลใหญ่ขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งเลือดมักหยุดไหลยากมาก วิธีที่นักเดินป่าส่วนใหญ่มักใช้คือ การหยดน้ำเกลือหรือแอลกอฮอล์ลงไปบนตัวทากตามรอบปากของพวกมัน หากยังไม่ยอมปล่อยอาจใช้ไม้ขีดไฟหรือบุหรี่จี้ลงไปบริเวณลำตัว เมื่อพวกมันหลุดเรียบร้อยให้รีบปฐมพยาบาลด้วยการล้างแผลด้วยน้ำเกลือจนสะอาด ห้ามเลือดในกรณีเลือดยังไม่หยุดไหล จากนั้นใส่ยาฆ่าเชื้อ หรือถ้ามีอาการคันก็สามารถทาครีมป้องกันการติดเชื้อและลุกลามได้

ทาก ดูดเลือด

การป้องกันอันตรายจากการโดนทากกัดเมื่อต้องเข้าป่า

พื้นฐานง่าย ๆ สำหรับคนที่ต้องเดินทางในป่าควรมีการสวมเสื้อผ้าให้รัดกุมโดยเฉพาะบริเวณเท้า ขา ลำตัว และแขน รวมถึงการทานยาเพื่อป้องกันไม่ให้แมลงหรือสัตว์ต่าง ๆ มาเกาะตามร่างกายก็เป็นอีกวิธีดี ๆ ที่หลีกเลี่ยงพวกมันได้เช่นกัน อีกสิ่งที่ควรรู้เอาไว้ด้วยก็คือหากคุณเข้าป่าแล้วต้องหาน้ำดื่ม อย่านำน้ำที่ไหลตามลำธาร แม่น้ำ มาดื่มทันที แต่ควรมีการต้มเพื่อฆ่าเชื้อโรค แบคทีเรีย จะทำให้พวกทากไม่ปะปนเข้ามาทำอันตรายกับอวัยวะในร่างกายด้วย แต่ถ้าหากไม่สามารถต้มได้อย่างน้อยก็ควรกรองอีกครั้งก่อนดื่ม

ความสำคัญของทากกับระบบนิเวศป่า

แม้หลายคนจะมองว่าทากดูดเลือดเป็นสัตว์อันตราย แต่เมื่อกลับมีความสำคัญกับระบบนิเวศในป่ามาก ๆ โดยเฉพาะป่าขนาดใหญ่ หน้าที่สำคัญคือพวกมันจะดึงเอาเหล่าสารอาหารจากสัตว์ขนาดใหญ่วนกลับมาให้กับสัตว์ขนาดเล็กอีกครั้ง สังเกตง่าย ๆ คือ สารอาหารที่ทากได้รับจากการดูดเลือดพวกมันจะถูกสัตว์อื่นกินต่อ เช่น นก ทำให้สัตว์ดังกล่าวแข็งแรงและใช้ชีวิตตามธรรมชาติต่อไป

มากไปกว่านั้นทากยังบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าอีกด้วย หากป่าแห่งไหนมีทากอยู่เยอะก็แสดงว่าสัตว์ป่าขนาดใหญ่กว่าพวกมันก็ยังคงมีจำนวนที่มาก

อีกสิ่งที่หลายคนอาจไม่เคยรู้คือ มนุษย์ยังใช้น้ำลายของทากเพื่อทำเป็นยาสลายลิ่มเลือดหลากชนิด ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดหลังการผ่าตัดนั่นเอง

ทาก ปลิง
ปลิง

References

ติดตามวิทยาศาสตร์ ความรู้รอบตัวอื่นๆที่นี่ : privatespacescience2017.com

RECENT POSTS