5 Fact ความก้าวหน้าทางดาราศาสตร์ 2023 เอาใจนักรักเทคโนโลยีอวกาศ

เทคโนโลยีอวกาศ คือ
สารบัญบทความ
เทคโนโลยีอวกาศ คือ

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อท้องฟ้าที่พรางพราวด้วยแสงดาวไม่ได้มีดีแค่ใช้ทำนายโชคชะตา บางทีสิ่งนั้นอาจเป็นการค้นพบความจริงที่ว่าเราอาจใช้ชีวิตและอยู่อาศัยบนดาวอังคารก็ได้ ดาราศาสตร์อาจเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด หากไม่ได้มองมันเป็นเพียงแค่ความรู้เก่าเก็บทางวิทยาศาสตร์ ครั้งนี้ Privatespace science 2017 พาผู้อ่านร่วมสำรวจ 5 Fact ความก้าวหน้าทางดาราศาสตร์ประจำปี 2565 – 66 ซึ่งเอาใจนักรักเทคโนโลยีอวกาศกัน

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

5 Fact ความก้าวหน้าทางดาราศาสตร์เอาใจนักรักอวกาศ

ท่องโลกกว้าง เปิดมุมมองกับข่าวดาราศาตร์ครั้งล่าสุดที่พาเราเข้าใกล้ความจริงอีกขั้น ด้วยก้าวสำเร็จจากการผลิตกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ (JWST) ซึ่งไวต่อรังสีและความร้อนจางจนบันทึกภาพแสงจากกาแล็กซีเก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์เคยรู้จัก อย่างไรก็ตาม เหล่านี้เป็นเพียงเสี้ยวความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดาราศาสตร์เท่านั้น หากอยากเข้าใจว่าตอนนี้เราต่างก้าวล้ำจนค้นพบอะไรบ้างก็สามารถไล่เรียงอ่านตั้งแต่ข้อแรกกันเลย

1.ดวงดาราไกลสุดล้า ใกล้สุดตา

ไม่บ่อยนักที่ดาวเคราะห์หลายดวงจะพร้อมใจสว่างและเข้าใกล้โลกกว่าที่เป็น เริ่มจากดวงจันทร์เผยปรากฏการณ์ใกล้โลกและไกลโลกที่สุดในรอบหลายปี จนเกิดจันทรุ – สุริยุปราคาสลับ ซึ่งส่งผลต่อปรากฏการณ์น้ำขึ้นลงในหลายพื้นที่ ตามติดด้วยดาวศุกร์สุกสกาว ดาวพฤหัสและดาวเสาร์ที่พร้อมใจใกล้ชิดโลกกว่าเคย

ความก้าวหน้าทางดาราศาสตร์
แหล่งอ้างอิงรูปภาพ : https://www.bbc.com/thai/international-55215271

2. หยาดฝนดาวตกข้ามฟ้า

บางทีธรรมชาติก็พัดพาความสวยงามไว้ประดับท้องฟ้ายามราตรีให้ดูวิเศษน่าตื่นตาขึ้น เมื่อสถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ได้คาดการณ์ไว้ว่าฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ (Perseids) กว่าหลายพันดวงจะเริ่มพรำจากฟ้าสู่ดินในคืนวันแม่ตั้งแต่ 12 – 13 ส.ค. 2566 และจบปิดท้ายด้วยฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids) ซึ่งขึ้นชื่อว่า ‘ราชาแห่งฝนดาวตก’ จะเริ่มโรยตัวในช่วงสิ้นปี

“ฝนดาวตกส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่อโลกเคลื่นตัวผ่านเศษฝุ่นที่หลงเหลืออยู่จากดาวหาง” แพทริเซีย สเกลตัน นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวกรีนิชยังคงจุดให้ฉุกนึกถึงเหตุผลของการเกิดขึ้นของมัน “ทว่าฝนตกเจมินิดส์กลับวิเศษกว่านั้น เพราะมันคือเศษฝุ่นที่ถูกทิ้งไว้จากดาวเคราะห์น้อย 3200 Phaethon” เพื่อให้เราสามารถชื่นชมความงามของมันได้เต็มตา ควรชมในช่วงเวลาที่ทั้งตกอยู่ในความหลับและมืดสนิท

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
อ้างอิงรูปภาพ : https://www.nasa.gov/press-release/nasa-s-perseverance-mars-rover-extracts-first-oxygen-from-red-planet

3. สร้างลมหายใจบนดาวอังคารได้สำเร็จ

เปิดมิติใหม่ เพิ่มโอกาสให้มนุษย์ย้ายถิ่นฐานไปอยู่อาศัยบนดาวอังคาร (Red Planet) ได้มากขึ้น เมื่อล่าสุดที่ผ่านมา NASA (National Aeronautics and Space Administration) ได้เผยผลลัพธ์จากการทดลองติดตั้ง MOXIE เครื่องฟอกอากาศชนิดพิเศษบนหุ่นยนต์สำรวจ Perseverance rover ซึ่งนำทีมโดยสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology – MIT) พบว่าเราสามารถเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีมากถึง 96% บนดาวอังคารเป็นออกซิเจนที่เราสามารถหายใจได้ถึง 100 นาที และเมื่อคิดเฉลี่ยที่ได้จากการเดินเครื่องแต่ละรอบ จะได้ปริมาณออกซิเจนถึง 6 กรัม ซึ่งใช้หายใจได้ถึง 15 นาทีทีเดียว และไม่แน่ว่าหลังจากนั้นเราอาจคิดค้นวิทยาการใหม่ ซึ่งเป็นดั่ง ‘ต้นไม้บนดาวเคราะห์’ สำหรับใช้ผลิตลมหายใจทุกนาทีได้ถาวร

“นี่เป็นเพียงการทดสอบแรกซึ่งใช้ทรัพยากรบนพื้นผิวดาวเคราะห์จริง ๆ และแปรเปลี่ยนมันด้วยปฏิกิริยาเคมีให้เป็นบางอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์” เจฟฟรี ฮอฟฟ์แมน ศาสตราจารย์สายปฏิบัติในภาควิชาการบินและอวกาศผู้ร่วมโปรเจ็คกล่าว พร้อมเสริมอีกว่า “ในแง่หนึ่งมันได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้วก็คงไม่ผิด”

อย่างไรก็ตาม หลังการทดลองปล่อย MOXIE ลาดตระเวนทั่วดาวเคราะห์ตลอดวันและคืนสี่ฤดูกาล นักวิจัยต่างประเมินว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ขนาดของ MOXIE จะต้องมีขนาดใหญ่เกือบร้อยเท่า หากต้องการให้มนุษย์ใช้หายใจและอาศัยอยู่บนดาวเคราะห์ดวงนี้ รวมทั้งมีปริมาณเพียงพอเป็นแหล่งเชื้อเพลิงจรวดไว้สำหรับทัวร์ไปกลับ

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
อ้างอิงรูปภาพ : https://tech.hindustantimes.com/photos/in-pics-historic-300-mn-nasa-dart-asteroid-collision-a-success-1st-step-to-save-earth-71664256734598-3.html

4. เบี่ยงทิศทางดาวเคราะห์น้อยกอบกู้โลก

อีกหนึ่งสิ่งพิเศษที่ทำให้โลกรู้ว่ายานอวกาศก็สามารถใช้ปกป้องโลกของเราได้ “อุกกาบาตพุ่งชนโลก” แค่ได้ยินคำนี้ก็หวั่นไหวใจเป็นห่วงแล้วว่าเราจะใช้ชีวิตอย่างไร หากแต่นั่นคือดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเท่าตัวก็คงไม่เหลืออะไรให้ต้องพูดถึงแล้ว ทว่าด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศสมัยใหม่ ทำให้เรามีอำนาจพอจะต่อกรกับภัยธรรมชาตินอกโลกได้อย่างอัศจรรย์ เมื่อนาซ่าได้ส่งยานอวกาศลำหนึ่งใน ภารกิจ DART (Double Asteroid Redirection Test) หรือก็คือส่งไปเพื่อเบี่ยงเบนวิถีการโคจรดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งที่ชื่อ ‘ไดมอร์ฟอส’ (Dimorphos) โดยโปรเจ็คดังกล่าวได้รับการสนับสนุนและจัดหายุทธปากรณ์จาก Johns Hopkins Applied Physics Laboratory (APL) เป็นอย่างดีตั้งแต่ช่วงกันยายนของปีที่ผ่านมา กระทั่งยานไร้คนขับเข้าพุ่งชนทำลายเป้าหมายด้วยซอฟต์แวร์นำวิถีได้สำเร็จ

หลุมดำ
แหล่งอ้างอิงรูปภาพ : https://news.cnrs.fr/articles/black-hole-sgr-a-unmasked

5. หลุมดำใจกลางกาแล็กซี่

ปิดท้ายด้วยปรากฏการณ์ค้นพบหลุมดำที่เก็บงำความลับให้โลกพิศวงมาเนิ่นนาน ทั้งนี้จาก BBC News ไทย ได้สรุปข้อมูลการค้นพบไว้ว่าหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ซีกโลกใต้แห่งยุโรป (ESO) และเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ขอบฟ้าเหตุการณ์ (EHT) ได้บันทึกภาพหลุมดำได้สำเร็จพร้อมเผยแพร่ภาพแรกสุดของหลุมดำมวลยิ่งยวด ‘ซาจิตทาเรีสเอสตาร์’ (SgrA*) ณ ใจกลางของกาแล็กซี่ให้ปรากฏแก่สายตาชาวโลก

อวกาศ
(ที่มาของคลิปวิดีโอ : https://news.cnrs.fr/articles/black-hole-sgr-a-unmasked)

ทั้งนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติกว่า 300 คนร่วมกันวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลจาก 6 เทราไบต์ที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์วิทยุโลกกว่า 8 แห่งทั่วโลกจนสามารถเป็นภาพที่เห็นได้ชัด ซึ่งจะเห็นเช่นนี้ได้ยากยิ่งเนื่องจากหลุมดำถูกบดบังด้วยกลุ่มแก๊สและฝุ่นที่หมุนวนรอบด้วยความเร็วสูงถึง 300,000 กิโลเมตร/วินาที อย่างไรก็ดี สำหรับใครต้องการเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีหลุมดำ ก็สามารถอ่านบทความฉบับเก่าที่เราเขียนไว้ก่อนหน้าได้เลย

References