ทุนดรา หรือ Tundra เป็นระบบนิเวศที่มีอุณหภูมิต่ำ และปริมาณน้ำฝนค่อนข้างน้อย พบได้ในที่สูงของซีกโลกเหนือ รวมไปถึงบางส่วนในอะแลสกา แคนาดา รัสเซีย และกรีนแลนด์ ซึ่งทุนดรานั้นแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ทุนดราขั้วโลก ซึ่งพบได้ใกล้ ๆ กับขั้วโลกเหนือ และทุนดราแบบเทือกเขา ซึ่งพบได้ในพื้นที่สูงบนภูเขาต่าง ๆ
ลักษณะเด่นของระบบนิเวศแบบทุนดรา
ทุนดราแบบขั้วโลก
- มีอากาศหนาวจัด มีอุณหภูมิตั้งแต่ -30 องศาเซลเซียส ไปจนถึง -40 องศาเซลเซียส
- มีปริมาณน้ำฝนต่ำมาก ๆ ในหนึ่งปีบริเวณทุนดราแบบขั้วโลกจะมีฝนตกรวมกันแล้วเป็นปริมาณเพียงแค่ 150 ถึง 250 มิลลิลิตรเท่านั้น
- ทุ่งหญ้าในทุนดราแบบขั้วโลกจะมีชั้นพื้นดินที่กลายเป็นน้ำแข็งเนื่องจากอากาศที่เย็นจัด มีชื่อเรียกว่า permafrost ซึ่งอาจหนาตั้งแต่ไม่กี่มิลลิเมตร ไปจนถึงหลายฟุต
- ทุนดราแบบขั้วโลกนั้นเป็นพื้นที่ที่มีความหนาวเย็นและแทบไม่มีต้นไม้เลย มีปริมาณน้ำฝนที่ต่ำมาก ดังนั้นพืชที่ขึ้นในทุนดราแบบขั้วโลกส่วนใหญ่จึงเป็นพืชที่มีสามารถอยู่รอดในสภาวะหนาวและขาดแสงแดด ขาดน้ำแบบรุนแรง เช่น
- ไลเคน เป็นสิ่งมีชีวิตทางชีวภาพชนิดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเชื้อราและสาหร่ายหรือแบคทีเรีย พบได้ตามพื้นดินหรือก้อนหิน
- มอส เป็นพืชที่เกิดจากความชื้น พบได้ทั่วไปตามพื้นหรือโขดหิน
- พุ่มไม้แคระ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กซึ่งเติบโตในทุนดราแบบขั้วโลก มีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น วิลโลว์ อัลเดอร์ เบิร์ซ
- สัตว์ส่วนใหญ่ที่มีชีวิตรอดในทุนดราแบบขั้วโลกนั้นจะเป็นสัตว์ที่วิวัฒนาการให้สามารถอยู่ได้ในอุณหภูมิหนาวจัด เช่น หมีขั้วโลก สุนัขจิ้งจอก กวางคาริบู นกฮูกหิมะ กระต่ายหิมะหรือกระต่ายอาร์กติก
ทุนดราแบบเทือกเขา
- มีอากาศหนาวจัด มีอุณหภูมิตั้งแต่ -30 องศาเซลเซียส ไปจนถึง -40 องศาเซลเซียส
- มีลมแรงมาก ๆ สามารถทำความเร็วได้ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- ดินในทุนดราแบบเทือกเขานั้นจะบาง และมีลักษณะเป็นหิน ทำให้ยากต่อการเจริญเติบโตของพืช
- พืชที่ขึ้นในทุนดราแบบเทือกเขาส่วนใหญ่นั้นมีลักษณะคล้าย ๆ กับทุนดราแบบขั้วโลก เช่น มอส ไลเคน พุ่มไม้แคระ ต้นหญ้าต่าง ๆ
- สัตว์ในทุนดราแบบเทือกเขานั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนหนา เช่น
- แพะภูเขา แพะที่มีขนหนามาก ๆ มีเขาแหลมโค้ง
- แกะบิ๊กฮอร์น มีขนหนาและเขาขนาดใหญ่
- มาร์มอต สัตว์ฟันแทะขนาดใหญ่ มีขนที่หนากว่าสัตว์ฟันแทะทั่ว ๆ ไป
- ไพกา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก มีลักษณะคล้ายกระต่าย มีขนที่หนาเช่นเดียวกัน
ความแตกต่างของทุนดราแบบขั้วโลกและทุนดราแบบเทือกเขา
- ทุนดราแบบขั้วโลกนั้นพบได้บริเวณขั้วโลกเหนือ แต่ทุนดราแบบเทือกเขาพบได้ในพื้นที่ภูเขาสูงทั่วโลก
- ทุนดราแบบขั้วโลกนั้นมีอากาศที่หนาวเย็นกว่าทุนดราแบบเทือกเขามาก ๆ
- ทุนดราแบบขั้วโลกมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าทุนดราแบบเทือกเขามาก
- ทุนดราแบบขั้วโลกมีดินที่ถูกแช่แข็ง แต่ทุนดราแบบเทือกเขาเป็นพื้นดินที่มีลักษณะเป็นหิน และบาง
ความสำคัญของระบบนิเวศแบบทุนดราต่อระบบนิเวศของโลก
ระบบนิเวศแบบทุนดรานั้นมีบทบาทสำคัญในการควบคุมสภาพอากาศของโลก ด้วยความที่ทุนดราเป็นพื้นที่ที่ถูกปกคลุมด้วยชั้นหิมะและน้ำแข็งตลอดทั้งวัน จึงสามารถสะท้อนแสงแดดกลับสู้ชั้นบรรยากาศและช่วยให้โลกเย็นลงได้ กระบวนการนี้มีชื่อเรียกว่า อัลเบโดเอฟเฟ็กต์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสมดุลให้กับโลก
นอกจากนี้ทุนดรายังเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญสำหรับมนุษย์ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และแร่ธาตุต่าง ๆ ซึ่งสำคัญต่อการสร้างพลังงาน การขนส่ง และการก่อสร้าง
สรุปแล้ว ทุนดรานั้นเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศ ที่มีบทบาทควบคุมความสมดุล สร้างสภาพแวดล้อมของโลกให้เหมาะแก่การอยู่อาศัยของสิ่งมีชิวิตต่าง ๆ นั่นเอง