‘ฉลามวาฬ’ กับบทบาทรักษ์โลกที่เป็นมากกว่ายักษ์ใหญ่ใจดีแห่งท้องทะเล

ฉลามวาฬ
สารบัญบทความ
ฉลามวาฬ

บนผืนน้ำคราม ใต้แผ่นฟ้าสีอำพันซึ่งความมืดดำได้เข้าห่มคลุมทีละนิดละน้อยนั้น มีฉลามวาฬซึ่งบนหลังดารดาษด้วยจุดเล็ก ๆ คล้ายสะเก็ดดาวน้อยใหญ่อาศัยอยู่อย่างสงบเป็นนานปี ก่อนกาลเวลาจะหมุนผ่านกระทั่งความเจริญของหมู่เมืองได้พัดพาเหล่าชีวิตให้สิ้นหนทางหวนกลับคืน เรามักได้ยินข่าวกันหนาหูว่าฉลามวาฬนั้นเสี่ยงจะสูญพันธุ์ ทว่าไม่บ่อยนักที่เราจะได้ยินว่าฉลามวาฬ ‘ช่วยโลก’ ของเราได้อย่างไรบ้าง ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่และนิสัยที่ชอบอ้าปากกลืนน้ำกินแพลงก์ตอนอยู่ทุกวัน ย่อมมีผลกับโลกเราอยู่บ้าง

ครั้งที่แล้วเราพูดถึงภัยคุกคามที่เหล่าวาฬนั้นพบเจอ ทว่าครั้งนี้ Privatescience2017 จะพาผู้อ่านร่วมสำรวจโลกกว้างมากขึ้นว่าฉลามวาฬได้ช่วยรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อมในด้านใด แล้วเราจะช่วยปกป้องชีวิตพวกเขาด้วยวิธีใดได้บ้าง

ฉลามวาฬ ดุไหม

รู้จักกับฉลามวาฬ

ฉลามวาฬ (Whale Shark) หรือที่เรียกในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhincodon typus นั้นเป็นสัตว์ทะเลจำพวกปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและยังอยู่คู่โลกใต้พิภพมานานกว่า 70 ล้านปี มีขนาดตัวราว 5.5 – 12 ตัน รวมน้ำหนักกว่า 20 กรัมโดยเทียบเท่าขนาดตั้งแต่รถบรรทุกหนึ่งคันกระทั่งบ้านทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าหนึ่งหลังเลยทีเดียว มีลักษณะเด่นที่หัวทรงกลมแบนใหญ่และมีปากทรงรีกว้างคอยพะงาบรับแหล่งอาหารที่เล็กระดับไมโครถึงนาโนเมตรอย่างแพลงก์ตอน และปลาน้อยใหญ่ถึงวันละ 20 กิโลกรัมต่อวัน

หากพิจารณารายละเอียดแยกย่อยอื่น ดังต่อไปนี้

  • แหล่งอาศัย: ชอบอยู่ตามแหล่งทะเลอุ่นซึ่งอุดมด้วยแพลงก์ตอนและแนวปะการัง และมักอบยพข้ามเข้าชายฝั่งตะวันตกของทวีปออสเตรเลียในฤดูใบไม้ผลิของทุกปี
  • อุปนิสัย: ไม่มีพิษภัย มนุษย์สามารถว่ายน้ำเทียบคู่กันได้ หากคุณพยายามทำตามวิธีการให้ถูกเหมาะสมมากพอ อย่างไรก็ตาม ด้วยอุปนิสัยข้างต้น จึงตกเป็นเหยื่อการล่าทางแถบเอเชียและฟิลิปปินส์อยู่บ่อยครั้ง บางกรณีฉลามวาฬก็ตายจากการถูกชนของเรือโดยสารหรือจากการกลืนกินไมโครพลาสติกจำนวนมหาศาลเข้าไป
ฉลามวาฬ

ฉลามวาฬช่วยโลกเราด้านใดบ้าง

การบริโภคอาหารของฉลามวาฬช่วยรักษาระบบนิเวศน์ด้วยกรองสภาพน้ำทะเลไม่ให้แพลงก์ตอน โดยหนึ่งในนั้นคือเชื้อแบคทีเรียไม่ให้ทวีจำนวนในมหาสมุทรมากเกินไป หากไม่มีฉลามวาฬในระบบนิเวศน์เสียแล้ว ก็เท่ากับเปิดโอกาสให้แพลงก์ตอนบางชนิดซึ่งปล่อยสารพิษแพร่พันธุ์และสะสมในสิ่งมีชีวิตที่กลืนกินมันเข้าไป (Harmful Algal Blooms: HABs) เช่น ปลา หอย ปู เป็น กระทั่งเมื่อมันตกทอดมาถึงจานอาหารมนุษย์ ย่อมเกิดผลกระทบต่อระบบประสาท สมอง กล้ามเนื้อ และทางเดินหายใจเกิดอาการเจ็บปวดและล้มเหลวฉับพลัน

สถานะปัจจุบันของเหล่าฉลามวาฬ

ฉลามวาฬ

แม้ว่าฉลามวาฬจะจัดเป็น Apex Predator นักล่าขั้นสูงสุดของห่วงโซ่อาหารจนแทบไม่มีศัตรูตามธรรมชาติจะต่อกร ทว่าด้วยขนาดตัวที่ใหญ่ร่วมกับจุดบนหลังที่เด่นสะดุดตา ย่อมเป็นเหยื่อของมนุษย์ในการล่ามาสกัดน้ำมันตับปลาและปรุงอาหารหรูยอดนิยมอย่าง ‘หูฉลาม’ อยู่เนือง ๆ ล่าสุด The Internation Union for Conservation of Nature (IUCN) จัดจำแนกฉลามวาฬให้มีสถานะของสิ่งมีชีวิตที่ ‘ใกล้สูญพันธุ์’ ซึ่งไม่ต่างจากวาฬ และพอพอยท์ที่มีชะตากรรมเดียวกัน

ปัญหาใหญ่หลวงนี้เองที่ผลักดันให้ผู้คนตื่นรู้และร่วมปกป้องเหล่าสัตว์ทะเลด้วยการจัดตั้ง World Wide Fund for nature (WWF) หรือองค์การกองทุนคุ้มครองสัตว์ป่าโลกขึ้นมา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์กรระดับโลกหลายแห่ง เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN : United Nations) เป็นต้น ตัดกลับมาที่สถานะของฉลามวาฬในไทย คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้เสนอชื่อสัตว์ 4 ประเภท ได้แก่ วาฬบรูด้า วาฬโอมูระ ฉลามวาฬ และเต่ามะเฟือง เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและความสมดุลของระบบนิเวศต่อไป

อย่างไรก็ตาม พวกเราซึ่งอาศัยอยู่บนโลกร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นจะสามารถช่วยฉลามวาฬเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง

เราสามารถช่วยฉลามวาฬได้อย่างไรบ้าง

ขยะพลาสติกในทะเล
  • อนุรักษ์ท้องมหาสมุทร : งดกิจกรรมสร้างภาวะโลกร้อน ร่วมกับลดปริมาณ Carbon footprint เช่น การละใช้แล้วทิ้งถุงพลาสติกลงทะเล การมีส่วนร่วมฟื้นฟูสภาพแวดล้อมตามชายฝั่ง เป็นต้น
  • ตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติก : ขยะพลาสติกถูกทิ้งลงทะเลมากกว่า 12 ล้านตันในทุกปี สัตว์ทะเลหลายชนิดบริโภคพลาสติกเข้าไปด้วยความที่พวกมัน “ไมรู้” คิดว่าเป็นอาหาร เมื่อระยะเวลาผ่านไปขยะเหล่านี้เริ่มจะย่อยสลายเป็นสารตกค้างในธรรมชาติ กลายเป็น “ไมโครพลาสติก” ที่ปนเปื้อนในระบบนิเวศรวมถึงสัตว์ทะเลและหวนคืนกลับสู่ร่างกายมนุษย์เราที่บริโภคพวกมันอีกทอด
  • ลดล่าสัตว์จับบริโภค : โดยเฉพาะการล่าสัตว์ที่เสี่ยงสูญพันธุ์ และหันมาบริโภคอาหารประเภท Sustainable Seafood อย่างพวกหอยและปลาน้อยใหญ่ที่มีอัตราการแพร่พันธุ์สูง
  • ละการใช้ผลิตภัณฑ์จากฉลาม : เพื่อสกัดกั้นการเติบโตของตลาดที่ต้องการฉลามเป็นวัตถุดิบหลัก ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นกระดูกอ่อน (Shark Cartilage) ที่แก้อาการปวดข้อเข่า หูฉลามที่ผู้คนต่างเชื่อว่าช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ หรือแม้แต่น้ำมันตับปลาไว้คอยขับสารพิษในร่างกาย ล้วนแล้วหาสิ่งอื่นที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงมาทดแทนได้
  • สำรวจชีวิตใต้ทะเล : อาจเป็นทริปดำน้ำชมปะการังพอให้เข้าใจความเป็นไปของชีวิตของเหล่าฉลามวาฬ และซึมซับความงามของระบบนิเวศที่สมบูรณ์พร้อมจนตระหนักได้ว่าสำคัญ
  • ร่วมวิจัยด้านฉลามวาฬ : การเก็บข้อมูลพฤติกรรมและความเคลื่นไหวของฉลามวาฬ เพื่อใช้เรียนรู้และเสนอแนวทางอนุรักษ์ที่ลดผลกระทบแทรกซ้อนย่อมส่งผลดีให้สภาพแวดล้อมสมบูรณ์ใกล้เคียงกับทฤษฎีชาร์ล ดาร์วิน

บทส่งท้าย

ก่อนอาทิตย์อัสดง อำลาฟ้าสู่ห้วงอนธการ หากเราได้เห็นคุณค่าของชีวิตน้อยใหญ่บนโลกที่เกื้อกูลต่อกันดังสัมพันธ์ห่วงโซ่ที่ยากจะตัดขาดแล้ว เราจะยังมีธรรมชาติที่สวยงามเฉกเช่นจุดดวงดาวที่พร่างพรายบนแผ่นหลังวาฬ ร่วมกับดวงดาราที่ส่องแสงบนแผ่นฟ้าให้เห็นต่อไปอีกนาน

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

  • Image credit by: Canva

RECENT POSTS